วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ๆ มีอยู่ 2 ประการ คือ

1.การเพิ่มของประชากร (Population Growth) โดยเฉลี่ยประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มสูงมาก ขึ้น ถึงแม้ว่าการรณรงค์เรื่องการวางแผนครอบครัวจะได้ผลดี แต่ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยัง เป็นการเติบโตแบบเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential Growth) ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราทวีคูณ เมื่อผู้คน มากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน ฯลฯ จากการคาดคะเนการเพิ่มจํานวนประชากรโลกซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทําให้ความต้องการปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดํารงชีวิตเพิ่มตาม คาดว่า ปัญหาต่าง ๆ จะตามมาอย่างรวด เร็วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สวัสดิการอื่น ๆ การ ประกอบอาชีพ ฯลฯ ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกยิ่งสําหรับประเทศที่ประชากรมี แนวโน้มเพิ่มสูงมาก จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางลดความตึงเครียดลงก่อนที่จะถึงซึ่ง ภาวะวิกฤติในอนาคต

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น

2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) การขยายตัวทางเศรษฐกิจทําให้มาตรฐานในการดํารงชีวิตสูงตามไปด้วย มี การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเกินความจําเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต จึงจําเป็นต้องใช้ พลังงานมาก ขึ้ นตามไปด้วย ในขณะเดี ยวกั นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ก็ ช่วยเสริมให้ การนํา ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ทําได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว มีผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ที่ อยู่อาศัย การสาธารณสุข การศึกษา การว่างงาน ฯลฯ ปํญหาเหล่านี้พบมากในประเทศด้อยพัฒนา ประเทศเหล่านี้จําเป็นต้องเร่งพัฒนาด้วยการเร่งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรมและการ อุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงถูกนํามาใช้ในการเกษตรรวมทั้งปุ๋ยเคมี ยา ปราบศัตรูพืช ฯลฯ สารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกปล่อยออกมาในรูปควันเสีย ฝุ่นละออง ทําให้ เกิดภาวะอากาศเป็นพิ ษ เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิ ษทางเสียง ของเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรมและจากเกษตรกรรมถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทําใหเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ นอก จากนี้ทรัพยากรธรรมชาติยังถูกนํามาใช้อย่างรวดเร็วและมากมาย เป็นผลให้ สภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทําลายป่า ทําให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล การทําลายหน้าดินทําให้เกิดปัญหาน้ำ ท่วม แร่ธาตุต่าง ๆ ถูกนํามาใช้เป็นจํานวนมหาศาล กระบวนการในการเปิดป่า ทําเหมือง และขั้น ตอนของการทําเหมือง ล้วนแล้วแต่มีสวนในการทําลายสภาวะแวดล้อมตาม ธรรมชาติอย่างน่าเสีย ดาย มนุษย์เป็นตัวการสําคัญในการเพิ่มพูนภาวะมลพิษให้แก่ระบบนิเวศ ความเจริญทาง เทคโนโลยียิ่งมีมากขึ้นเท่าไร ปัญหาการสร้างความสกปรกให้แก่สภาพแวดล้อมดูเหมือนจะยิ่งทวีมาก ขึ้นเท่านั้น นับตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อคริตส์ศตวรรษที่ 18 โรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็น แหล่งถ่ายเทและปล.อยของเสียให้แก่สภาพแวดล้อมเรื่อยมาและมากขึ้นเป็นลําดับ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยจํากัดที่สําคัญของมนุษย์ เพราะเป์นตัวการทําลายมนุษย์ เอง ในประเทศที่พัฒนาแล้วสิ่งแวดล้อมที่ถือว่าอยู่ในสภาพที่เป์นพิษต่อประชากร มักเกิดจากสารเคมี อากาศเสีย และน้ำเป็นพิษ ส่วนปัญหาเดียวกันนี้ในประเทศด้อยพัฒนาเกิดเนื่องจากการขาดแคลน อาหารและทรัพยากรธรรมชาติ

องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมนั้นจะแบ่งได้ตามประเภทของสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ(Natural environment)

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


1.1สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ ดังนี้

1.1.1) บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ
1.1.2) อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ
1.1.3) ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน

1.2 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย




2.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)

ปิรามิด

แบ่งได้ดังนี้

2.1สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด
2.2สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment)ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์  จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น